รีเซต

4 วิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย ไม่ถูกหลอกให้เสียเงินฟรี

4  วิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย ไม่ถูกหลอกให้เสียเงินฟรี
Wee
13 มิถุนายน 2563 ( 09:10 )
804
1

     สมัยนี้ใครๆ ก็ชอบซื้อของออนไลน์กันค่ะ เพราะว่าสะดวกสบายไม่ตองเดินทางไปซื้อร้านค้า ไม่ต้องฝ่ารถติดและแดดร้อน ยิ่งในช่วงโควิด-19 แบบนี้ การออกนอกบ้านนั้นเสี่ยงที่จะติดไวรัสได้ อันตรายมากๆ เลยค่ะ หลายคนจึงตัดสินใจว่าจะซื้อของออนไลน์เป็นหลักซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะข้าวของเครื่องใช้เท่านั้น อาหารการกินก็ด้วยที่หลายๆ คนก็หันไปเพิ่งบริการเดลิเวอรี่ค่ะ

     ข้อดีของการช้อปออนไลน์นั้นมีมาก แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกัน อย่าเช่นการที่เราไม่ได้เห็นของกับตา ไม่ได้หยิบจับพิจารณาถึงวัสดุของชิ้นงานนั้นๆ เห็นเพียงรูปภาพที่ทางผู้ค้าถ่ายมาลงไว้ให้ ทำให้บางครั้งก็ได้ของแบบที่ไม่ตรงใจ คุณภาพไม่สัมพันธ์กับราคาที่ต้องจ่ายไปก็มี เหนือสิ่งอื่นใดยังไม่เจ็บใจเท่ากับการที่จ่ายเงินแล้วไม่ได้ของ เสียเงินฟรีไปให้มิจฉาชีพ ซึ่งถ้าเราไม่ระวังให้ดีก็อาจเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับเราได้เช่นกันค่ะ ดังนั้นก่อนที่เราจะเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เราเจ็บใจ ลองไปดูกันก่อนดีกว่าว่าช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัยต้องทำอย่างไร กับ 4 วิธีนี้ที่เรานำมาฝากกันค่ะ 

 

 

4 วิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย ไม่ถูกหลอกให้เสียเงินฟรี

1. อย่าหลงของถูกเว่อร์ 

     หากเจอสินค้าที่ราคาถูกกว่าราคาท้องตลาดมากๆ จนผิดสังเกต ให้ตรวจสอบกับผู้ซื้ออื่นให้มั่นใจเสียก่อนอย่าโลภเห็นของถูกจนโอนเงินไปให้ ผู้ร้ายมักตั้งราคาสินค้าให้ถูกกว่าท้องตลาดเพื่อโน้มน้าวให้คุณสนใจและซื้อ หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินจำนวนมากๆ ให้กับคนที่เราไม่เคยซื้อของด้วยมาก่อน หากต้องการทำจริง ขอให้ไปเจอหน้า แล้วมอบเงินให้กันดีกว่า อย่าโลภเห็นของถูกจนโอนเงินไปให้ก่อนผู้ร้ายมักตั้งราคาสินค้าให้ถูกกว่าท้องตลาดเพื่อโน้มน้าวให้คุณสนใจและซื้อ และผู้ร้ายมักหลีกเลี่ยงการพบหน้ากันจริงๆ

 

2. ยืนยันกันหน่อย

     เมื่อพบหน้า (หากได้พบจริงๆ) ขอเอกสารยืนยันการซื้อ หรือติดต่อ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หรือเอกสารยืนยันการซื้อสินค้า หรือขอถ่ายภาพของเค้าเอาไว้ ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้ค้าคนนั้นส่งของจริงและมีตัวตนจริงๆ (หากเป็นคนโกง เค้าจะพยายามให้คุณสั่งของทีละมากๆ ระวังเอาไว้) อย่าไว้ใจแค่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คของผู้ขาย เพราะบางคนมีหลายแอ๊คเคาน์ พยายามขอแอ๊คเคาน์จริงๆ ที่เค้าใช้ ที่สามารถเห็นเพื่อนๆ และพฤติกรรมของเค้าจริงๆ ได้

 

3. อย่าลืมเช็ครายชื่อพ่อค้าแม่ค้า

      ดูว่ามี ชื่อจริง นามสกุลจริง ของเจ้าของร้านแสดงอยู่ไหม หากมีชื่อจริง หรือเลขบัญชีธนาคารที่เราต้องจ่ายเงินไปให้ ลองใช้ชื่อเหล่านั้นค้นหาตรวจสอบใน Google ก่อนว่ามีประวัติอย่างไรมาบ้าง เพราะหากเป็นชื่อหรือบัญชีที่เคยโกงมาก่อน ก็อาจจะเจอคนอื่นๆ มาพูดถึงหรือบ่นถึงไว้ในที่อื่นๆ เช่นกัน หากเป็นบัญชีธนาคารในรูปแบบบริษัทหรือนิติบุคคล ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ ว่าชื่อเว็บนี้จดหรือตั้งมานานแล้วหรือยัง หากเป็นผู้ขายที่ขายผ่านผู้ให้บริการที่เป็นเหมือนคนกลางก็จะมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน 

 

4. เช็คเรตติ้งสินค้าด้วย

      เช็คการพูดคุยและโต้ตอบกันของผู้ขายหรือเว็บนั้นๆ เช่นในเว็บบอร์ด หรือโซเชี่ยลมีเดีย ดูว่ามีคนเข้าไปเขียนตอบอะไรบ้าง หรือกระทู้ล่าสุดที่ตอบคือเมื่อวันไหน? เพราะหากคำถามถูกทิ้งไม่ได้ตอบไว้นาน และต้องเช็คว่ามีผู้เคยได้รับสินค้าแล้วหรือยังด้วย เพราะจะสามารถตรวจสอบตัวตนของเจ้าของนั้นได้ (ระวัง Account ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ๆ) ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การเปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บ เพื่อบ่งบอกว่าร้านค้าหรือเจ้าของร้านอยู่ที่ไหน จะดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่แสดงข้อมูลที่อยู่จริง ๆ หากเว็บไซต์นั้นๆ มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้น

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

6 แอปพลิเคชัน ซื้อของเข้าบ้าน ถึงจะไม่ได้ออกไปไหนก็ช้อปปิ้งออนไลน์ได้

 

10 แอปพลิเคชันช้อปปิ้ง เสื้อผ้า เครื่องสำอางออนไลน์ สะดวก ง่าย ราคาดี!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง