บทความนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเลือดบ้าง ซึ่งประเด็นหลักที่ผมจะเขียนนั่นคือผมอยากชวนให้คนที่พร้อมบริจาคเลือด มาบริจาคเลือดกัน เพราะว่าเลือดนั้นถือเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ต้องทำความเข้าใจไว้เบื้องต้นบ้าง เพราะไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดก็ตาม หากขาดเลือดไปจนถึงจุดหนึ่งแล้ว จะทำให้เสียชีวิตได้เลย ไม่ว่าคนคนนั้นจะแข็งแรง-อ่อนแอ ร่ำรวย-ยากจน เพียงใด โดยเนื้อหาจะไล่ไปในรายละเอียดแต่ละส่วนองค์ประกอบเลือดและหมู่เลือดเลือดแดงๆที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายเรานี้ ศัพท์ในการบริจาคเลือด คือ Whole Blood ซึ่ง ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ได้แก่ เม็ดเลือดแดง , เม็ดเลือดขาว , เกล็ดเลือด และ พลาสมา ผสมรวมกันอยู่ หากมองลึกลงไปในรายละเอียดก็จะมีสิ่งต่างๆในเลือดอีกมากมาย ทั้งสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น และ รับเข้าเส้นเลือดจากภายนอกระบบ แต่จะขอกล่าวถึงตัวกำหนดหมู่เลือด นั่นคือ Antigen (แอนติเจน) และ Antibody (แอนติบอดี้)เป็นที่ทราบกันดีว่าหมู่เลือดนั้นมี 4 หมู่เลือด ได้แก่ A , B , O และ AB และจำกันมาแบบติดตลกว่า หมู่โอ นั้นใจดีที่สุดเพราะให้ใครก็ได้ แต่เหมือนมีกรรมพ่วงมาด้วยคือรับเลือดจากหมู่อื่นไม่ได้ ในขณะที่ หมู่เอบี นั้นให้เลือดใครไม่ได้เลือด แต่กลับรับเลือดได้ทุกหมู่ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะในเลือดเรานั้นมี Antigen อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง และ Antibody อยู่ในพลาสมา โดยที่การกำหนดหมู่เลือดนั้น อิงจาก Antigen ที่มีในเลือด ก็คือหมู่เลือด A : มี Antigen A และ มี Antibody Bหมู่เลือด B : มี Antigen B และ มี Antibody Aหมู่เลือด AB : มี Antigen A,B และ ไม่มี Antibody A,Bหมู่เลือด O : ไม่มี Antigen A,B แต่ มี Antibody A,Bเมื่อลองดู Antibody ของแต่ละหมู่เลือดแล้วก็จะพบว่าเป็นจริงตามที่เราจำกันมา และนี่คือคำตอบว่าใครรับเลือดใครได้บ้าง ซึ่งอธิบายง่ายๆว่าเมื่อ Antigen ไปเจอ Antibody แล้ว Antibody จะฆ่า Antigen ทิ้งซะ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของมันทั้งนี้ในระบบหมู่เลือดที่ต้องรู้เบื้องต้นยังมีส่วนหมู่ Rh ด้วย กำหนดโดย Antigen D ผู้ใดมีแอนติเจนนี้จะเป็นกลุ่ม Rh Positive หรือ Rh+ และ ผู้ไม่มีจะเป็น Rh Negative หรือ Rh-โดย Rh+ สามารถรับเลือดจากทั้งบวกและลบได้ แต่ Rh- นั้นไม่สามารถรับเลือดจาก Rh+ ได้ ต้องรับจาก Rh- ด้วยกัน (ในความเป็นจริงสามารถรับได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากไม่จำเป็นจะไม่ทำ เพราะมีความเสี่ยง) จึงเป็นเหตุผลที่บางครั้ง เราจะพบเห็นการขอรับเลือดที่มีคำว่า Rh Negative หรือ Rhลบทำไมถึงควรบริจาคเลือดหลายๆคนคงได้ยินคำเปรยที่ว่า “บริจาคเลือด หนึ่งคนให้หลายคนรับ” ก็คงจะมีคำถามขึ้นมาบ้างว่า ยังไงหนอ เขาเอาเลือดเราไปแบ่งหรือยังไงกัน ผมจะขออธิบายให้ชัดเจนขึ้นเองจากส่วนแรกที่ผมได้มีการกล่าวถึงส่วนประกอบของเลือด 4 ส่วนได้แก่ เม็ดเลือดแดง , เม็ดเลือดขาว , เกล็ดเลือด และ พลาสม่า นั้น เมื่อหน่วยงานรับบริจาคเลือด ได้เลือดเราไปแล้ว เขาจะนำไปเข้ากระบวนการแยกส่วนประกอบต่างๆออกจากกัน โดยได้สัดส่วนเป็น 3 ถุง ได้แก่ พลาสมา 55% , เม็ดเลือดแดง 40% และ เม็ดเลือดขาวกับเกล็ดเลือด 5% โดยแต่ละส่วนนั้นนำไปใช้ตามสถานะของผู้รับดังนี้พลาสมา : นำไปใช้กับผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย , โรคตับ , ผู้ป่วยแผลไฟไหม้รุนแรงเม็ดเลือดแดง : นำไปใช้กับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย , โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ผู้ที่มีภาวะเสียเลือดจากอุบัติเหตุ/การผ่าตัดด้วยเม็ดเลือดขาวกับเกล็ดเลือด : นำไปใช้กับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก , โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว , โรคกระดูกฝ่อ หรือ รวมถึงการใช้ในการผ่าตัดใหญ่ด้วยจนถึงตรงนี้ผู้อ่าน ก็คงทราบรายละเอียด แล้วว่าเลือดที่เราบริจาคใส่ถุงไปนั้น มีเส้นทางของมันยังไงต่อไป ทำไมถึงเป็นหนึ่งคนให้หลายคนรับ เดี๋ยวในส่วนต่อไปจะกล่าวถึง เรื่องการเตรียมตัวเพื่อบริจาคเลือดกันการเตรียมตัวเพื่อบริจาคเลือดในส่วนนี้ ขอกล่าวถึงการเตรียมตัวเพื่อไปบริจาคเลือดกัน เพื่อไม่ให้ตกหล่นในข้อไหนไป จึงนำภาพแบบสอบถามของสภากาชาดมาให้เห็นกันเลยผู้อ่านจะเห็นว่ารายละเอียดในแบบสอบถามนั้นมีรายละเอียดราวๆ 30 ข้อกันเลยทีเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าเลือดที่รับมาจะปลอดภัยที่สุด เพราะคำถามทั้งหมดที่ระบุไว้นั้นคือ “ปัจจัยเสี่ยง” ต่อคุณภาพของเลือดที่รับไปทั้งสิ้น และ ส่งผลเสียต่อผู้รับได้ด้วย นั่นก็จะเป็นการทำบาปทางอ้อมเลย หากจะกล่าวลึกลงไปให้เห็นผลกระทบอีกด้าน คือ หากหน่วยรับบริจาคตรวจพบสิ่งแปลกปลอมที่เขาห้ามไว้ เลือดถุงนั้นจะต้องทิ้งทั้งหมดทันที ซึ่งกระบวนการตรวจต่างๆก็มีต้นทุนของมันอยู่ฉะนั้นแล้วหากใครที่มีความต้องการบริจาคเลือด ก็อยากให้อ่านเอกสารใบนี้และเตรียมตัวให้พร้อม หากใครไม่เข้าเกณฑ์ข้อไหนก็อย่าได้โกรธเคืองหรือเสียดาย ลองช่วยเหลือผู้อื่นในทางอื่นดูก่อนจบส่วนนี้ จะขอขยายความในเรื่องอาหารการกินที่กินก่อนไปบริจาคเลือดอีกสักหน่อย ว่าโดยหลักแล้วขอแค่ให้งดกินอาหารไขมันสูงก่อนไปบริจาคเลือด แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยก็คืออาหารที่กินแล้วเสริมสร้างให้ร่างกายเรามีเกล็ดเลือดมากขึ้น เพราะว่าในขั้นตอนการบริจาคเลือด จะมีการวัด “ค่าเกล็ดเลือด” ของผู้บริจาคด้วย แม้ผ่านแบบสอบถามทุกข้อ แต่ถ้าค่าเกล็ดเลือดไม่ถึงเกณฑ์ ก็จะถูกปฏิเสธการบริจาคได้การปฏิบัติตัวหลังบริจาคเลือดเรื่องนี้ทีมแพทย์และพยาบาลในหน่วยรับบริจาคต้องแจ้งแก่ผู้บริจาคอยู่แล้วว่าห้ามหรือเลี่ยงอะไรบ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องทั่วไปที่จะส่งผลต่อผู้บริจาค เช่น ดื่มน้ำเยอะๆ , อย่าเพิ่งออกกำลังกาย , งดการออกที่โล่งแจ้ง , งดการไปยังสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท , พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้นฉะนั้นแล้วใครที่ไปบริจาคเลือดแล้วอย่าเพิ่งชะล่าใจไปว่าตนเองไม่มีอาการหลังจากลุกลงจากเตียง นั่นเพราะร่างกายอาจจะยังไม่แสดงอาการออกมา หรือ สภาพแวดล้อมต่างๆไม่ได้มีผลมากพอ ทางที่ดีอย่าประมาทดีกว่าประเด็นปลีกย่อยอื่นในส่วนท้ายนี้ผมอยากให้ผู้อ่านรับทราบในประเด็นย่อยต่างๆอีกสักหน่อย เพื่อให้รู้จักและเข้าใจถึงการบริจาคเลือดได้กว้างขึ้นบริจาคได้ที่ไหน : ผู้รับบริจาคเลือดไม่ได้มีเพียง สภากาชาด แต่ยังมีโรงพยาบาลรัฐและเอกชนต่างๆอีก นั่นหมายถึงไม่จำเป็นต้องบริจาคกับสภากาชาดก็ได้ ใครสะดวกที่ไหนก็ไปที่นั่น ลองค้นหาที่ที่ใกล้บ้านกันดู ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดอายุของเลือด : เลือดที่เราบริจาคไปนั้น แต่ละส่วนย่อยมีอายุของมันอยู่ ผมเลยอยากขอให้ถ้าใครบริจาคเลือด อยากให้เลี่ยงวันยอดนิยมต่างๆ เช่น วันแม่ , วันพ่อ เพราะช่วงยอดนิยมเหล่านี้ มีผู้บริจาคมากจนทำให้มีเลือดหมดอายุไม่ถูกใช้งานเลือดจากสภากาชาดไปไหน : สภากาชาดมีหน้าที่เป็นผู้รับบริจาคเลือด แต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้เลือด ผู้ใช้เลือดคือสถานพยาบาลต่างๆ ซึ่งจะต้องจองเลือดกับสภากาชาด แล้วนัดหมายไปรับเลือดจากสภากาชาดมาจัดเก็บไว้กับตนเองอีกที จะไม่ใช่การไปเบิกใช้เมื่อต้องการทำไมบาง รพ. รับเลือดไม่ตรงหมู่ : เพราะระหว่างแต่ละหน่วยงานนั้น สามารถแลกเปลี่ยนถุงเลือดกันได้ด้วย คือ ในกรณีที่ตนเองไม่มีเลือดหมู่ที่ต้องการ แต่ที่อื่นมีให้ได้ ผู้ที่ต้องการหมู่เลือดนั้นต้องนำถุงเลือดหมู่อื่นไปแลกมาบริจาคเลือดแล้วอ้วนจริงไหม : เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ผิด เพราะแท้จริงแล้วความอ้วนนั้นเกิดจากสิ่งที่แต่ละคนกินเข้าไป บางคนอาจจะคิดว่าต้องกินน้ำหวานชดเชย ต้องกินมากกว่าเดิมเพื่อชดเชย ต้องนอนให้มากๆ จึงทำให้กินมากขึ้นแต่ขยับน้อยลงจนเป็นผลให้น้ำหนักขึ้นได้ สิ่งที่ถูกต้องคือขอให้กินในปริมาณปกติ แต่เน้นอาหารที่เสริมสร้างการสร้างเลือดก็พอแล้วบริจาคเลือดเพื่อตรวจเชื้อในเลือด : เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจริง เพราะหน่วยงานต่างๆเคยออกมาร้องขอกันเลยว่า อย่ามาบริจาคเลือดเพียงเพราะอยากตรวจเชื้อโรคในเลือด โดยเฉพาะเชื้อเอดส์ สิ่งนี้ทำให้เสียเวลาและเสี่ยงต่อผู้รับมากๆ หากเชื้อนั้นๆเป็นระยะที่ตรวจไม่พบได้ด้วยกระบวนการในแลป สรุปประเด็นสำคัญการบริจาคเลือด คือ หนึ่งคนให้ หลายคนรับเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปบริจาคเลือด ทั้งร่างกายและอาหารการกินตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริงการบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้อ้วนอย่าบริจาคเพราะอยากรู้ว่าเลือดตัวเองมีเชื้ออะไรไหมหวังว่าสิ่งนี้ จะมีประโยชน์ต่อคุณผู้อ่าน ขอบคุณที่ตามอ่านครับ____________________ขอบคุณภาพและผลงานต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยภาพปก : โดย Wagner จาก Pixabayภาพที่ 1 : โดยผู้เขียนภาพที่ 2 : โดย Vince จาก Pixabayภาพที่ 3 : โดยสภากาชาดไทยภาพที่ 4 : โดยผู้เขียน จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !