ในยามหลับร่างกายของเราจะหลังโกรทฮอร์โมนสูงที่สุด ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีบทบาทมากในการสร้างความอ่อนเยาว์ เผาผลาญสารอาหาร และซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ตลอดจนยังช่วยให้เซลล์แบ่งตัวและอวัยวะต่าง ๆ เติบโตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดโกรทฮอร์โมนก็จะทำให้ผิวหย่อนคล้อยและเหี่ยวย่น โดยเฉพาะช่วงหลังอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะลดการสร้างโกรทฮอร์โมนลงเรื่อย ๆ ภาพจาก https://unsplash.com/photos/5NzOfwXoH88 ร่างกายของเราก็คงไม่ใช่เครื่องจักรกล การที่จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้นอนหลับอย่างเพียงพอ การอดนอนหรือนอนไม่พอต่อความต้องการอย่างต่อเนื่องมีผลต่อสุขภาพ ทั้งในเรื่องของภูมิคุ้มกัน เพราะการอดนอนอาจมีผลทำให้เลือดมีโอกาสติดเชื้อได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง ร่างกายก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียอย่างที่เคยทำ ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา รู้หรือไม่ว่า.... การอดนอนเพียง 1 คืน ส่งผลให้เซลล์ที่เป็นป้อมปราการต้านเนื้องอกอ่อนแอลงถึง 30% นั่นหมายความว่า ถ้าอดนอนบ่อย ๆ มะเร็งจะถามหาแน่นอน อีกทั้งการอดนอนยังทำให้ความจำและการทำงานของสมองแย่ลงอย่างมากด้วย ภาพจาก https://unsplash.com/photos/nvOw94yHp2g การอดนอนเพียงสัปดาห์เดียว หรือนอนประมาณแค่วันละ 4 ชั่วโมง จะส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นในการควบคุมปริมาณกล้ามเนื้อและไขมัน ทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น การอดนอนยังทำให้ระบบการย่อยรวนเรและผันผวน ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้นถึง 40% ที่จะจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดหลังกินคาร์โบไฮเดรตเข้าไป และการมีระดับน้ำตาลสูงคั่งค้างในเลือดนาน ๆ ก็ทำให้เราแก่เร็วขึ้น เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ 1. การกินเมลาโทนินเสริมเพื่อช่วยให้นอนหลับก็ช่วยได้ดีและเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแผ่นติดที่ใช้นาโนเทคโนโลยีและไม่ใช่ยานอนหลับติดที่ร่างกาย เพื่อช่วยให้นอนหลับได้สนิท วิธีการทำงานก็คล้ายกับแผ่นนิโคตินที่ช่วยให้เลิกอาการติดบุหรี่ และไม่เป็นอันตราย ภาพจาก https://unsplash.com/photos/DE9MM2voqKc 2. สภาพแวดล้อมในห้องนอนก็มีส่วนสำคัญมากต่อการนอนหลับ ห้องต้องมืดสนิท ติดม่านทึบแสงด้วยก็จะช่วยได้ และปิดแสงจากนาฬิกา คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้มืด วิธีเหล่านี้ช่วยลดการสร้างฮอร์โมนคอร์ติโซน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีแสง คอร์ติโซนจะคิดว่าเป็นเวลาที่ร่างกายต้องแอคทีฟหรือตื่นตัวขึ้นทันที การลดแสงเท่ากับลดระดับฮอร์โมนคอร์ติโซน จะช่วยให้หลับสนิทและสบายตลอดทั้งคืน 3. อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง 4. ควรเข้านอนตั้งแต่ 21.00 - 21.30 น. และใช้เมลาโทนินเป็นตัวช่วยหากจำเป็น หากอยากดูโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนก็ให้ตั้งเวลาปิดก่อนถึงเวลานอน เลือกดูรายการที่สงบ ไม่เร้าใจ เลี่ยงการดูข่าวก่อนนอนเพราะจะทำให้นอนไม่หลับได้ ภาพจาก https://pixabay.com/th/illustrations/%E0%B8%84%E0%B8%A7%/ การนอนหลับเป็นการดูแลสุขภาพง่าย ๆ แบบที่ไม่ต้องลงทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับการนอนให้เพียงพอ เพราะผลลัพธ์ของการนอนจะส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อคุณตื่นขึ้นในวันถัดไป หากนอนไม่หลับหรือหลับยากก็ลองทำตามคำแนะนำที่ผู้เขียนกล่าวไปแล้ว หากทำได้อย่างนี้ทุกคืน คุณก็จะหลับได้ง่ายขึ้น และการนอนหลับอย่างเพียงพอนี้ก็จะนำแต่ความสุขและสุขภาพที่ดีมาสู่ชีวิต...ที่ยืนยาวของคุณ ข้อมูลประกอบจาก 10 Steps เปลี่ยนตัวเอง / ชลิดา เถาว์ชาลี ตันติพิภพ ภาพหน้าปกจาก https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%0/