การบริจาคเลือด มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพไหม มีผลทำให้อ้วนหรือไม่การบริจาคเลือดในปัจจุบันก็ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน ในขณะที่บางคนมองเห็นว่าการให้เลือดคนอื่นกลายเป็นเรื่องธรรมดาปกติที่ทำได้ทุกๆ 3 เดือน ใช่ค่ะ! เราสามารถบริจาคเลือดได้ทุกๆ 3 เดือน ถ้าตรวจพบว่าเรามีความพร้อมในการบริจาค โดยความพร้อมที่ว่านี้อาศัยการประเมินจากหลายด้าน พร้อมของเราอาจไม่ได้พร้อมสำหรับคนเก็บเลือดและต่อให้เลือดของเราดีพอสำหรับบริจาคไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้บอกว่าเลือดของเราที่บริจาคไปจะสามารถใช้ได้นะคะ อีกทั้งต่อให้อยากช่วยคนอื่นด้วยเลือดของตัวเองแต่ดันเป็นชาวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยแค่ช่วงสั้นๆ แบบนี้ทางสภากาชาดไทยก็ไม่รับค่ะ ที่รู้เพราะผู้เขียนเคยพาเพื่อนชาวต่างชาติใจบุญคนอื่นไปที่สภากาชาดไทย แต่ด้วยความที่เป็นนักท่องเที่ยวเลยไม่เข้าตากรรมการค่ะการบริจาคเลือดทำให้อ้วนจริงไหม?จากที่ผู้เขียนได้บริจาคเลือดมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง พบว่าได้อะไรกว่าที่คิดค่ะ แต่ก่อนจะเล่าไปยาวๆ ขอไขข้อข้องใจก่อนที่อาจมีบางคนยังมีชุดความคิดและความเชื่อว่าบริจาคเลือดแล้วจะอ้วน จริงๆ ต้องบอกว่าครั้งแรกสุดที่ผู้เขียนได้บริจาคเลือด ตอนนั้นเป็นนักเรียนพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุขค่ะ โดยในได้วันนั้นบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามค่ะ ในตอนนั้นมีน้ำหนักประมาณ 47 กิโลกรัม ถึงตอนนี้ก็ยังน้ำหนักเพียง 45- 47 กิโลกรัมเท่านั้นด้วยความสูงถึง 163 เซนติเมตรค่ะ มีแค่เพียงตอนอยู่ปี 4 เท่านั้นที่มีน้ำหนัก 52 กิโลกรัมค่ะ แต่ตัวเลข 52 นี้ เมื่อนำมาคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกตินะคะ หลังเรียนจบมาแล้วก็ได้หาโอกาสบริจาคเลือดมาเรื่อยๆ จนบริจาคได้ถึง 17 ครั้งตามที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้แล้วค่ะ ยิ่งตอนมาเรียนปริญญาโทยิ่งน้ำหนักลดเหลือเพียง 44 กิโลกรัมเท่านั้น และช่วงนี้ก็ไม่ค่อยได้บริจาคเลือดค่ะเพราะถ้าน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัมจะไม่สามารถบริจาคเลือดได้ดังนั้นผู้เขียนกล้าฟันธงมากค่ะว่า การบริจาคเลือดไม่เคยทำให้ผู้เขียนมีโรคอ้วนเลยในชีวิตแม้แต่ครั้งเดียว เพราะจะอ้วนหรือผอมมีหลายอย่างเกี่ยวข้องนะคะ จึงไม่สามารถระบุได้ 100% ว่า ความอ้วนของคนที่เคยบริจาคเลือดเกิดจากการไปให้เลือดกับคนอื่น ดังนั้นประเด็นนี้ขอจบและกดผ่านค่ะ เพราะผู้เขียนไม่เคยอ้วนและนี่น่าจะเป็นหลักฐานตัวคนตัวเป็นๆ ที่มีน้ำหนักมากพอนะคะ เสร็จแล้วถ้าไม่อ้วนมีปัญหาอย่างอื่นไหม ตอนนี้ผู้เขียนมีสุขภาพดีค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีหัวใจโตหรือทำงานผิดปกติ ไม่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ตื่นนอนมาวัดอัตราการเต้นของหัวใจเลยก็อยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ ไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดจากการบริจาคเลือดนะคะ ไม่มีเลือดออกง่าย ไม่มีภาวะซีด และเลือดยังความเข้มข้นตามปกติ ดูง่ายๆ คือถ้าเลือดจางลงการบริจาคครั้งที่ 2 เกิดขึ้นไม่ได้แน่นอนค่ะ แต่นี่มาไกลถึง 17 ครั้ง ผิวหนังส่วนที่เจาะเลือดมีเพียงแผลเป็นนิดเดียวค่ะซึ่งถ้าไม่ได้มามองดูใกล้ๆ ก็ไม่มีทางเห็นค่ะบริจาคเลือดได้ที่ไหนต้องบอกว่าถ้าเราเป็นคนไทยที่มีร่างกายแข็งแรงที่พร้อมบริจาคเลือดได้จะบริจาคที่ไหนก็ได้ในประเทศไทยค่ะ โดยไม่เกี่ยวว่าบ้านเกิดตามบัตรประชาชนจะอยู่สุโขทัยแต่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ย้ำอีกครั้งนะคะ! จะอยู่ที่ไหนก็บริจาคเลือดได้ในบ้านเราค่ะ เพราะผู้เขียนคือตัวอย่างของคนบริจาคเลือดทั่วไทยตัวเป็นๆ คำนี้ไม่ได้หมายความว่าตระเวนไปบริจาคเลือดนะคะ แต่หมายถึง บ้านเกิดอยู่บุรีรัมย์ค่ะและไปเรียนต่อปริญญาตรีที่มหาสารคาม และผู้เขียนก็ได้บริจาคเลือดมหาสารคาม พอมาเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียนก็ได้บริจาคเลือดจำนวนหลายครั้งที่คลังเลือดกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่นค่ะ และพอมาทำงานที่จังหวัดลพบุรีก็ได้ไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีก เห็นไหมคะว่าที่ไหนก็ได้และพอกลับมาบ้านเกิดเวลามีหน่วยกาชาดเคลื่อนที่ออกมารับบริจาคเลือดผู้เขียนยังสามารถบริจาคเลือดได้ด้วย โดยการบริจาคเลือดในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในสถานที่อื่นๆ เช่น หอประชุมของที่ว่าการอำเภอฯ ค่ะ แถมยังเคยไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ด้วยนะคะ โรงพยาบาลชุมชนคือโรงพยาบาลของรัฐบาลประจำอำเภอๆ หนึ่งค่ะ โดยการบริจาคเลือดในโรงพยาบาลเล็กๆ แบบนี้จะแตกต่างอย่างมากกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และที่เคยมีประสบการณ์มาคือสามารถบริจาคเลือดได้เฉพาะวันพฤหัสบดีและศุกร์ตอนบ่าย เพราะที่โรงพยาบาลไม่มีที่เก็บเลือดจึงต้องรอให้เจ้าหน้าที่เข้าเมืองและนำเลือดมาเก็บที่คลังเลือดที่โรงพยาบาลที่ใหญ่กว่าค่ะ การบริจาคเลือดได้อะไรหลักใหญ่ใจความของการบริจาคเลือดคือการได้ช่วยเหลือคนป่วยค่ะ เพราะคนธรรมดาทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มีความจำเป็นและต้องการเลือด โดยคนป่วยที่ต้องการเลือดมีหลายกรณีมากค่ะ ทั้งคนที่เป็นโรคความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด คนที่ประสบอุบัตุเหตุและสูญเสียเลือดมาก หรือแม้แต่คนที่ได้รับการผ่าตัดจากนั้นสูญเสียเลือดมาก จึงจำเป็นต้องได้รับเลือดมาทดแทนเลือดที่สูญเสียไปค่ะ และการบริจาคครั้งแรกได้ขนม นมกับน้ำดื่มมาทานก่อนออกจากห้องบริจาคเลือดค่ะ จากนั้นบริจาคมาได้ครั้งที่เท่าไหร่ไม่แน่ใจค่ะ และอยู่ๆ ก็มีในประกาศนียบัตรจากสภากาชาดไทยส่งมาให้ถึงบ้าน ถัดมาอีกได้เข็มกลัดและล่าสุดครั้งที่ 17 ได้เข็มขัดที่สวยขึ้นค่ะ ขนม นม น้ำดื่มและอาหารอื่นๆ ที่เป็นไปได้นั้นผู้บริจาคเลือดได้รับอยู่แล้วค่ะ ขนาดไปโรงพยาบาลเล็กๆ ยังได้แน่ๆ คือนมเปรี้ยวหนึ่งกล่อง ผู้เขียนเคยได้กระเป๋า ของชำร่วยและพวงกุญแจจากที่ไปบริจาคเลือดที่คลังเลือดกลาง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาแล้วค่ะ และสิ่งเหล่านี้คือสิ่งของที่จับต้องได้แต่การบริจาคเลือดยังได้ตรวจประเมินสุขภาพของตัวเองนะคะ ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน เพราะก่อนบริจาคเลือดอย่างแรกเราได้รู้ว่าหมู่เลือดของเราคืออะไร โดยของผู้เขียนคือ A Rh+ ค่ะ คนเอเชียส่วนมาก Rh+ แต่ฝรั่งมัก Rh- นี่คือที่ผู้เขียนรู้มานะคะ และตอนไปบริจาคเลือดเราต้องกรอกเอกสารฉบับหนึ่งเพื่อประเมินพื้นฐานสุขภาพเบื้องต้น เช่น นอนดึกไหม เคยได้รับการผ่าตัดไหม เจาะหูไหม เคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เคยไปในประเทศที่มีโรคระบาดไกม ทานยาแก้อักเสบไหม ทานอาหารไขมันสูงไหม ได้ร่วมหลับนอนกับคนอื่นที่ไม่ใช่แฟนของตัวเองไหม และอื่นๆ อีกหลายข้อค่ะ โดยในส่วนนี้จะเรียกว่าเป็นการซักประวัติก็ได้ จากนั้นเรายังต้องชั่งน้ำหนักตัว วัดความดันโลหิตเลือด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เจาะเลือดตรวจดูความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง โดยถ้าสิ่งเหล่านี้ผ่านก่อนก็จะได้บริจาคเลือดตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ ตลอดจนหลังจากเลือดเต็มถุงแล้วเจ้าหน้าที่ยังเก็บตัวอย่างเลือดของเราใส่หลอดเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอีกด้วย โดยเลือดชุดนี้คือตัวอย่างสำหรับตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี โรคเอดส์และไขมันในเลือดค่ะ ถ้ามีความผิดปกติจะมีเอกสารลับส่งกลับมาถึงบ้าน หากปกติจะไม่มีอะไรส่งมาค่ะเพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และจากที่ผู้เขียนได้บริจาคเลือดมาไม่เคยได้รับเอกสารรายงานความผิดปกติของเลือดตัวเองเลยค่ะทำไมต้องบริจาคเลือดเหตุผลอย่างแรกที่ผู้เขียนบริจาคเลือดเป็นเพราะว่าต้องการให้เลือดของตัวเองไปเป็นประโยชน์กับคนที่ต้องการจริงๆ ค่ะ และคนกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นผู้ป่วยที่บางครั้งเสียเลือดมากจากอุบัติเหตุ จากความผิดปกติของโรคเกี่ยวกับเลือด จากการผ่าตัดและอื่นๆ ค่ะ โดยผู้ป่วยที่ต้องการเลือดนั้นความเป็นความตายเท่าๆ กันค่ะ บางคนพอได้เลือดก็กลับมาดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลได้ก็เยอะ จึงคล้ายกับว่าเราได้ช่วยคนๆ หนึ่งเอาไว้ อีกทั้งการบริจาคเลือดเหมือนเป็นกุศโลบายที่ทำให้ผู้เขียนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพตัวเองมากขึ้น เช่น ต้องทานอาหารที่ดี ต้องออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น และทั้งหมดนั้นคือประสบการณ์เกี่ยวกับการได้บริจาคเลือดในชีวิตของผู้เขียนมากับตัวเองค่ะ ถึงตอนนี้ก็ยังสนใจที่จะบริจาคเลือดทุกเมื่อๆ มีโอกาส ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนครั้งว่าต้องบริจาคแค่ไหนค่ะ แต่ตั้งใจไว้ว่าจะบริจาคเลือดให้มากที่สุดที่คนๆ หนึ่งจะสามารถทำได้และโอกาสเอื้อค่ะ เพราะบางที่ตอนมีหน่วยเคลื่อนที่ออกมารับบริจาคเลือดแต่ผู้เขียนมีประจำเดือนหรือทานยาปฏิชีวนะ แบบนี้ก็ไม่สามารถบริจาคได้ค่ะ จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยมาร่วมบริจาคเลือดให้มากขึ้นหากมีสุขภาพดีค่ะ เพราะเลือดของเราสามารถช่วยต่อชีวิตของคนๆ หนึ่งได้ค่ะ ที่ในบางครั้งเราอาจไม่เข้าใจหรือรู้สึกแบบที่ผู้ป่วยคนหนึ่งรู้สึก ว่าการได้กลับมามีสุขภาพดีอีกครั้งหลังจากได้รับเลือดเป็นยังไง แต่การบริจาคเลือดคือแนวทางที่สามารถช่วยชีวิตของคนที่ต้องการเลือดได้จริงๆ นะคะเพราะผู้เขียนเคยเห็นมาแล้วกับตา จึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านและทำให้มองเห็นภาพมากขึ้น และถ้าชอบบทความแบบนี้อีกอย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย FRANK MERIÑO จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหาโดย: ภาพที่ 1,3 โดย ผู้เขียน, ภาพที่ 2 โดย Zen Chung จาก Pexels และภาพที่ 4 โดย Alena Shekhovtcova จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canva https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%9B%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94-13-%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94-trueidintrend_385457https://intrend.trueid.net/article/9-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94-trueidintrend_332305https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87-trueidintrend_377372เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !