สมุนไพรพื้นบ้านของไทยนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและถูกใช้นำมาเป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดก็มีประโยชน์ในรูปแบบเฉพาะที่แตกต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมาเจอกับสมุนไพรชนิดหนึ่งที่รู้จักมาตั้งแต่เด็ก และหาได้อยากแล้วในสมัยนี้ นั่นก็คือ “ต้นมะกา” หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อและไม่รู้ถึงประโยชน์ของพืชสมุนไพรชนิดนี้ ซึ่งผู้เขียนเองก็จะขอเล่าในส่วนที่เป็นข้อมูลเบื้องต้น ประสบการณ์ความประทับใจที่เคยได้ใช้พืชสมุนไพรชนิดนี้ในแนวทางที่พอเข้าใจง่าย ซึ่งการนำต้นมะกามาใช้เป็นสมุนไพรนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากเลย ภาพโดยผู้เขียนถ่ายเอง ก่อนอื่นต้องขอแนะนำให้รู้จักก่อนว่า “ต้นมะกา” มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้นอยู่ที่ประมาณ 5-10 เมตร กิ่งของมันจะแผ่กว้างออก มีเปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ส่วนใบจะเป็นรูปรี ปลายใบมน เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ที่หลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนใบอ่อนจะมีสีแดง ผลของมันจะเป็นลูกเล็ก ๆ ทรงกลมผิวเรียบเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีม่วงแดง ภาพโดยผู้เขียนถ่ายเอง สรรพคุณหลัก ๆ ของต้นมะกานี้คือ แก้กษัย ไตพิการ ถอนพิษไข้ ฟอกโลหิต ขับลม เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ขับโลหิต สมานลำไส้ ซึ่งส่วนที่นำมาทำเป็นยานั้นก็จะเป็น ใบ ราก เปลือกของลำต้น และแก่นของลำต้น ในสมัยเด็ก ๆ นั้นผู้เขียนเคยป่วยและมีไข้สูง สมัยนั้นหากป่วยในตอนกลางคืนจะไปหาหมอก็ลำบาก ปู่ของผู้เขียนได้นำไปของต้นมะมามาอังไฟจนแห้งกรอบนำไปใส่หม้อต้ม พร้อมกับเปลือกของต้นมะกา เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำมาป้อนให้ผู้เขียนดื่มเป็นระยะ รสชาติก็จะขมปนเฝื่อนนิด ๆ ผู้เขียนกลั้นใจดื่น จนผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงอาการไข้ก็ลดลงจากนั้นอีกวันสองวันก็หายเป็นปกติโดยที่ไม่ต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งการดื่มน้ำใบมะกาต้มนั้นนอกจากจะช่วยถอนพิษไข้แล้ว ยังช่วยขับเสมหะเป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณช่วยในการฟอกเลือดอีกด้วย ครั้งหนึ่งพ่อของผู้เขียนเกิดอาการลำไส้อักเสบ ซึ่งไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วแต่พอกลับมาที่บ้านไม่กี่วันก็เกิดอาการกำเริบอีก ปู่ของผู้เขียนจึงนำเปลือกของต้นมะกามาทุบให้แหลกแล้วนำไปอังไฟอยู่พักหนึ่งจนเปลือกไหม้ จากนั้นจึงนำมาต้มเป็นยานำมาให้พ่อของผู้เขียนดื่มติดต่อกันสามวันจนอาการอักเสบนั้นหายไป และไม่กลับมามีอาการอีกเลย นี่ก็เป็นสรรพคุณของต้นมะกาที่เป็นประสบการณ์จริงจากตัวผู้เขียนเอง ซึ่งก็เห็นได้ว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ได้ได้ผลดีไม่น้อย แต่ที่สำคัญคือหากจะนำมาใช้หรือปรุงเป็นยาก็ควรศึกษาถึงวิธีการและปริมาณในการใช้ให้ดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ และในโอกาสหน้าหากผู้เขียนมีเรื่องราวดี ๆ ของสมุนไพรต่าง ๆ ก็จะนำมาแบ่งปันให้กับทุกท่านในโอกาสต่อ ๆ ไป