รีเซต

ต้องอ่าน! 6 วิธีรักษาอาการ ผมร่วง ผมบาง แบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง!

ต้องอ่าน! 6 วิธีรักษาอาการ ผมร่วง ผมบาง แบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง!
p.paye
9 ตุลาคม 2561 ( 16:00 )
40.8K
8

     ผมร่วง ในผู้หญิงพบได้ไม่บ่อยเท่าในผู้ชาย พบได้ประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ก็พบได้บ้างในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป ผมร่วงที่มากกว่าปกติ คือผมร่วงมากกว่า 100 เส้นขึ้นไป และสังเกตพบว่าผมเริ่มบางลงกว่าที่เคย ส่วนใหญ่ผมร่วงในผู้หญิงวัยสาวมักเป็นชั่วคราวและมีสาเหตุที่แก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

 

 

  สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงที่พบทั่วๆ ไปได้แก่  

     1. ความผิดปกติของฮอร์โมนใดๆ ก็ตามที่ทำให้การสร้างฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดผมร่วงศีรษะล้านแบบกรรมพันธุ์ที่พบมากในผู้ชาย โดยปริมาณฮอร์โมน DHT มีมากขึ้น หรือมีการสร้างเอ็นไซม์ อโรมาเทส (Enzyme Aromatase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่รับผิดชอบต่อการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรนและเอสตราไดออล (Estrone and Estradiol) ลดลงทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย เช่น ภาวะวัยทอง วัยหมดประจำเดือน หรือเป็นเนื้องอกที่รังไข่บางชนิดที่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้มากๆ

     2. ภาวะผมร่วงหลังคลอด อาจพบได้หลังคลอดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมักจะเป็นอยู่ประมาณ 6 – 12 เดือน จะสามารถดีขึ้นเองได้แม้ไม่ได้รับการรักษา

     3. การขาดสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผม เช่น ขาดวิตามินบี ขาดธาตุสังกะสี ขาดธาตุเหล็ก ขาดโปรตีน หรือกรดไขมันจำเป็นบางอย่าง และการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นต้น โรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โลหิตจาง โรคตับ โรคไต โรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น

     4. ยาคุมกำเนิด สามารถพบได้ทั้งในผู้ที่เริ่มกินยาคุมกำเนิดหรือหยุดกินยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเพศแบบหนึ่ง จึงทำให้สมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้เกิดผมร่วง ผมบางได้
ภาวะผมร่วงหลังการเจ็บป่วย เช่น ไข้สูง หรือหลังการผ่าตัด หลังการดมยาสลบ
ผมร่วงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคเก๊าท์ เป็นต้น

 

 

     ในเบื้องต้นไม่ว่าสาเหตุผมร่วงจะมาจากสาเหตุอะไรให้ปฏิบัติตามนี้ ซึ่งเป็นการรักษาอาการผมร่วงเบื้องต้นด้วยตัวเอง

     1. ลดหรืองดอาหารเค็ม อาหารมัน เพราะอาหารมันที่กินเข้าไปจะถูกนำไปสร้างไขมันมากขึ้นทำให้ผมเส้นเล็กๆ ร่วงง่ายถ้ามีหนังศีรษะมัน

 

 

     2. ลดหรืองดชากาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนนอกจากจะทำให้เส้นเลือดฝอยหดตัวแล้วยังทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีผลโดยตรงต่อการนำสารอาหารไปเลี้ยงรากผม คนที่กินชากาแฟบ่อยเป็นกิจวัตรนอกจากจะเสี่ยงต่อเรื่องภาวะเส้นเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันแล้ว รากผมยังมีแนวโน้มจะอ่อนแอหลุดร่วงง่ายกว่าปกติ

 

 

     3. ลดหรืองดบุหรี่ อุปสรรคอย่างหนึ่งของการรักษาผมร่วงคือยังคงสูบบุหรี่จัด ทำให้เส้นเลือดฝอยตีบตันและแข็งตัว เป็นผลโดยตรงต่อการนำเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงรากผม

 

 

     4. งดแอสปาแตมหรือน้ำตาลเทียมที่ผสมอยู่ในน้ำอัดลมสีดำทั้งหลายที่โฆษณาว่า 0 แคลลอรี่

 

 

     5. งดผงชูรส เพราะผงชูรสระคายเคืองต่อผนังลำไส้ทำให้การดูดซึมวิตามินบีลดลง

 

 

     6. งดสารเคมีทุกชนิดที่ใช้กับหนังศีรษะไม่ว่าจะเป็นแว็กซ์ เจล สเปรย์ หรือ มูสแต่งผม นอกจากนี้ต้องหยุดย้อมผม โกรกผม ยืดผม ดัดผม แบบสิ้นเชิง

 

 

     อาหารเสริมที่มีผลส่งเสริมการสร้างเส้นผมและช่วยบำรุงรากผม ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวิตามิน และ แร่ธาตุต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว คือวิตามินบี โปรตีน ธาตุเหล็ก และ สังกะสี โดยทุกวันนี้มีอาหารเสริมที่อ้างว่าบำรุงผมมากมายจึงต้องมีสารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญนั่นเอง

 

ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดนี้ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของบทความแล้ว เพื่อนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ women.trueid.net เท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก POSITIF Thailand

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

5 แชมพู สำหรับสาวผมบาง ผมร่วง ผมทำสี ใช้แล้วผมหนาขึ้น!!
แนะนำ 5 ไบโอติน วิตามิน บำรุงเส้นผม ให้หนาขึ้น ไม่ขาดหลุดร่วง!!

 

ติดตาม women.trueid.net ได้ที่

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง